ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี(HIV)

ขึ้นกับชนิดและลักษณะของการได้รับหรือสัมผัสเชื้อเอชไอวี ดังตารางที่แสดงดังต่อไปนี้ครับ นอกจากนี้  ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อความเสี่ยงต่อการติดเชื้อยังได้แก่ สถานภาพการติดเชื้อเอชไอวีของผู้ป่วย, ปริมาณของเบือดหรือสารน้ำในร่างกายที่สัมผัส, ชนิดของการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นระหว่างการสัมผัสหรือได้รับเชื้อเอชไอวี, ชนิดของสารน้ำที่สัมผัส

ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีโดยประมาณแบ่งตามชนิดและลักษณะของการได้รับหรือสัมผัสเชื้อเอชไอวี  

ชนิดและลักษณะของการได้รับหรือสัมผัสเชื้อ                          ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี (ร้อยละ) 

  • การรับเลือด………………………………………………………….90

  • การแพร่เชื้อเอชไอวีจากมารดาติดเชื้อสู่ทารก…………………..13-45

  • การใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกับผู้ติดเชื้อ………………………….0.67

  • เพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ผู้สัมผัสเป็นผ่ายรับ*………………….0.5

  • โดนเข็มตำ……………………………………………………………0.3

  • เพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ผู้สัมผัสเป็นฝ่ายรับ*………………….0.1

  • การสัมผัสเชื้อเอชไอวีผ่านทางผิวหนังที่เป็นแผล………………..0.1

  • การสัมผัสเชื้อเอชไอวีผ่านทางเยื่อบุ……………………………..0.09

  • การสัมผัสเชื้อเอชไอวีผ่านทางสารคัดหลังที่ไม่ใช่เลือด……..น้อยกว่า 0.09

  • เพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ผู้สัมผัสเป็นฝ่ายสอดใส่*…………….0.065

  • เพศสัมพันธ์ทางปาก ผู้สัมผัสเป็นฝ่ายรับ*………………………..0.01

  • เพศสัมพันธ์ทางปากผู้สัมผัสเป็นผ่ายสอดใส่*……………………0.005

  • การสัมผัสเชื้อเอชไอวีจมากการถูกกัดหรือเป็นผู้กัด…………….0.004

  • การสัมผัสเชื้อเอชไอวีของทารกจากการดื่มนมมารดาติดเชื้อ….0.001-0.00

*การมีเพศสัมทพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย

การป้องกันการติดเชื้อหลังได้รับเชื้อ

  • เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อเอชไอวี(HIV)

  • ประเมินความเสี่ยงและให้คำปรึกษาแนะนำ

  • พิจารณาให้การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีหลังได้รับเชื้อ

  • Postexposure prophylaxis

  • add line ปรึกษาได้ครับ หรือ ที่คลินิก

credit : ภาวะฉุกเฉินทางอายุรศาสตร์ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเพศไทย เล่ม 1


ยาต้านไวรัสเอดส์ฉุกเฉิน,  PEP

ยาต้านไวรัสเอดส์ก่อนเสี่ยง(ก่อนสัมผัสเชื้อ),  PrEP